รายละเอียดผลงาน
“เตียงสั่งตัด” เป็นเตียงประกอบขึ้นตามขนาดสัดส่วนของแต่ละบุคคล โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat UDC) เป็นผู้ช่วยออกแบบให้แต่ละบุคคลเพื่อการใช้งานที่เหมาะสม เช่น ความสูง ความกว้าง ที่เหมาะสม โดยการออกแบบที่เน้นความปลอดภัย มีราวกั้นข้างเตียงที่ยืดหยุ่น สามารถเปิดปิดได้ตามความต้องการ ตลอดจนการใช้ไม้เป็นวัสดุ เพื่อช่วยให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติ ขอบไม้มีการลบมุมเพื่อให้ไม่คมจนอาจเกิดอันตราย และมีทีมช่างที่มีความชำนาญ และมีทักษะในด้านนี้เป็นผู้ประกอบเตียง
1.รุ่นUD-BEST: PA.Care
เหมาะสำหรับที่พักอาศัยที่มีพื้นที่จำกัด ช่วยแก้ไขสภาพพื้นที่จำกัด โดยการซ่อนที่นอนผู้ดูแลไว้ใต้เตียง และสามารถดึงออกมาใช้งานเมื่อต้องการได้
2.รุ่นUD-BEST: Adjustable
เป็นเตียงที่สามารถปรับระดับได้ 3 ระดับ และมีราวกั้นข้างเตียงที่ยืดหยุ่น สามารถเปิดปิดได้ตามความต้องการ ทั้ง 2 ด้าน
ผู้พัฒนา
ศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดผลงาน
สังคมไทยเริ่มก้าวเข้าสู่สังคมของผู้สูงอายุ ซึ่งแน่นอนว่าสภาพร่างกายและความจำของผู้สูงอายุนั้นย่อมเปลี่ยนแปลงและทรุดโทรมไปตามกาลเวลา สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างปลอดภัยโดยเฉพาะในบ้านนั้น ควรเริ่มจากการออกแบบพื้นที่ภายในบ้านให้เหมาะสมนั่นเอง การออกแบบห้องน้ำสำหรับผู้สูงอายุ เป็นนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้น โดย “ศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน” (Chulalongkorn Universal Design Center) โดยออกแบบห้องน้ำสำหรับผู้สูงอายุ ดังนี้
ผู้พัฒนา
ศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กลุ่มเป้าหมาย
บุคคลทั่วไปหรือผู้สูงอายุ
รายละเอียดผลงาน
ชุดความรู้ “การปรับสภาพบ้านสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุโดยชุมชนท้องถิ่น” เป็นชุดความรู้ที่พัฒนาขึ้น เพื่อเป็นแนวทางหรือเครื่องมือให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือผู้ที่สนใจนำไปประยุกต์ใช้ปรับสภาพบ้าน หรือปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุ โดยประกอบด้วยชุดเครื่องมือ ดังนี้
1. คู่มือการใช้ความรู้ 7 ขั้นตอน การปรับสภาพบ้าน สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุโดยชุมชนและท้องถิ่น
2. คู่มือวิดีโอการเรียนรู้การปรับสภาพบ้านสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุโดยชุมชนและท้องถิ่น
3. คู่มือการปรับสภาพบ้านสำหรับคนพิการโดยท้องถิ่น
4. 7 ขั้นตอนการปรับสภาพบ้านสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุโดยชุมชนและท้องถิ่น
5. การ์ดความรู้
ผู้พัฒนา
ศูนย์เรียนรู้ สสส. ร่วมกับ
ศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
กลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดผลงาน
ผู้พัฒนา
วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
(รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ระดับอาชีวศึกษา
การประกวดนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ครั้งที่ 1)
เป้าหมาย
รายละเอียดผลงาน
ผู้พัฒนา
วิทยาลัยการอาชีพสตึก จ.บุรีรัมย์
(รางวัลชมเชย ระดับอาชีวศึกษา
การประกวดนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ครั้งที่ 1)
เป้าหมาย
รายละเอียดผลงาน
ช้อนที่ออกแบบเพื่อให้คนไทยได้เห็นภาพปริมาณเครื่องปรุงที่เหมาะสมในการประกอบอาหารและเป็นตัวอย่างในการตักเครื่องปรุงแต่ละครั้งเพื่อการรับรู้ถึงปริมาณโซเดียมที่เหมาะสมในแต่ละมื้อ และต้องการให้คนไทยลดการกินเค็ม ลดการบริโภคโซเดียม โดยหวังว่าภาพจำจากการตักเครื่องปรุงด้วยช้อนปรุงลด จะทำให้คนไทยเปลี่ยนพฤติกรรมการปรุงด้วยช้อนชาปกติที่ใช้อยู่
ผู้พัฒนา
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
กลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดผลงาน
ผู้พัฒนา
เครือข่ายลดบริโภคเค็ม
กลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดผลงาน
อุปกรณ์ที่ส่งเสริมให้คนบริโภคผักที่ปลอดภัยจากสารพิษ และสามารถปลูกเองได้แม้ในพื้นที่แคบ เช่น ระเบียงคอนโด ชุดปลูกผักสวนครัวจึงเป็นอุปกรณ์ที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ชีวิตคนเมืองที่มีพื้นที่ขนาดเล็กและต้องการปลูกผักปลอดสารเคมีไว้ทานเองที่บ้าน ความพิเศษของเจ้าตะกร้าใบเล็กๆ นี้ มาพร้อมดินและเมล็ดพืชที่คุณสามารถเลือกผักที่ต้องการปลูกได้ ทำให้การปลูกผักของคุณเป็นเรื่องง่ายขึ้น แถมตัวตะกร้ายังสวยงาม ถ่ายเทอากาศและระบายน้ำได้ดี ซึ่งนอกจากได้ผักสดไว้ทานที่บ้านแล้ว ตะกร้าใบนี้ยังช่วยตกแต่งบ้านให้สวยงามอีกด้วย
ผู้พัฒนา
นายชูเกียรติ โกแมน สวนผักคนเมือง
กลุ่มเป้าหมาย
ผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตเมือง มีพื้นที่ไม่มากนัก
รายละเอียดผลงาน
เครื่องสลัดน้ำมันจากการทอด ผลิตจากถังแสตนเลสเกรดสำหรับใช้กับอาหาร 2 ชั้น ชั้นนอกไว้รองรับน้ำมันที่สลัดออกมาจากอาหาร ชั้นในเป็นถังทรงกระบอกที่ทำขึ้นจากตะแกรงตาข่าย
มีน้ำหนักเบาและสลัดน้ำมันออกได้ดี โดยถังจะยึดติดกับระบบเฟืองทดรอบที่จะทำให้ถังหมุนได้ ซึ่งติดตั้งอยู่ด้านล่างของอุปกรณ์ ไม่ใช้ระบบไฟฟ้า และมีอัตราทดเฟืองหมุน 1 ต่อ 11 โดยการหมุนด้ามจับเพียง 1 รอบ จะทำให้ถังปั่นหมุนเหวี่ยงสลัดน้ำมันได้ถึง 11 รอบ เมื่อน้ำมันกระเด็นออกไปติดอยู่ที่ด้านในของถังชั้นนอกก็จะไหลลงไปรวมกันอยู่ด้านล่าง ลงไปสู่ภาชนะรองรับเพื่อนำไปทิ้งได้โดยสะดวก ต้นทุนการผลิตไม่แพง
ผู้พัฒนา
วิทยาลัยเทคนิคสารภี จ.เชียงใหม่
(รางวัลชนะเลิศ ระดับอาชีวศึกษา การประกวด
นวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ครั้งที่ 2)
กลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดผลงาน
โต๊ะประชุมยืนเพื่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง มีรายละเอียดการออกแบบดังนี้
1.รูปแบบโต๊ะประชุมยืน แบ่งเป็น 2 ขนาด ตามลักษณะการใช้งาน ได้แก่
1.1 โต๊ะยืน Size M ขนาดยาว 1.4 เมตร กว้าง 0.6 เมตร ด้านยาวใช้ได้ 2 ที่นั่ง เป็นขนาดโต๊ะมาตรฐานสำหรับนั่งหรือยืนทำงานได้ฝั่งละ 1-2 คน สามารถใช้เป็นโต๊ะประจำหรือเป็นโต๊ะประชุมขนาดเล็กได้
1.2 โต๊ะยืน Size L ขนาดยาว 2.0 เมตร กว้าง 0.6 เมตร ด้านยาวใช้ได้ 3 ที่นั่ง เป็นโต๊ะแบบยาวเหมาะสำหรับเป็นโต๊ะของส่วนกลางสำนักงาน ใช้ในการประชุมหรือใช้งานได้แบบอเนกประสงค์
ตัวโต๊ะประชุมยืนสามารถปรับระดับความสูงได้โดยการหมุนมือจับ โดยปรับระดับขึ้นลง นอกจากตัวโต๊ะที่ปรับระดับได้แล้ว ยังมีโต๊ะประชุมยืนแบบปรับระดับไม่ได้ เป็นโต๊ะขายาว สำหรับยืนประชุม ยืนฟังบรรยาย หรือใช้เป็นโต๊ะส่วนกลางของสำนักงาน
2.ประเภทของการใช้งาน โต๊ะประชุมยืนแบบหมุนปรับระดับได้ สามารถปรับระดับได้ตามความต้องการในการใช้งาน ดังต่อไปนี้
2.1 โต๊ะสำหรับยืนทำงานที่จริงจัง ทำงานแบบใช้เวลานานหรือใช้แล็ปท็อปในการยืนทำงาน โต๊ะจะต้องปรับระดับให้ข้อศอกตั้งฉากกับโต๊ะ
2.2 โต๊ะสำหรับยืนทำงานเบา ๆ ยืนฟังบรรยายหรือยืนประชุมสั้น ๆ โดยปรับระดับโต๊ะให้ต่ำลงในระดับที่ใช้เพียงเพื่อการพักแขนหรือพักมือ
2.3 โต๊ะสำหรับนั่งกับเก้าอี้สูง ปรับระดับโต๊ะตามความสูงของเก้าอี้สูง โดยปรับระดับโต๊ะให้ต่ำลงในระดับที่ใช้เพียงเพื่อการพักแขนหรือพักมือ
2.4 โต๊ะสำหรับนั่งทำงานหรือนั่งประชุม นั่งทำงานแบบใช้เวลานานหรือใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงาน โต๊ะจะต้องปรับระดับให้ข้อศอกตั้งฉากกับโต๊ะ
2.5 โต๊ะสําหรับการส่งเสริมการออกกำลังกาย นำโต๊ะประชุมยืน Size L จำนวน 2 ตัว วางต่อกันโดยใช้ด้านยาววางชิดกัน ติดตั้งตาข่ายตรงกลาง สามารถปรับใช้เป็นโต๊ะสำหรับเล่นกีฬาปิงปอง
3.แนวคิดในการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของโต๊ะประชุมยืน
โต๊ะประชุมยืนนอกจากมีการใช้งานในระหว่างช่วงเวลาทำงานแล้ว ยังสามารถเพิ่มกิจกรรมทางกายระหว่างวันได้อีก เพื่อลดพฤติกรรมเนือยนิ่งและเพิ่มการลุกเดินระหว่างวัน โดยมีท่ายืดเหยียดสำหรับคนที่นั่งทำงานตลอดทั้งวัน ทั้งแบบโต๊ะระดับต่ำและโต๊ะระดับสูง ดังนี้
3.1 ท่ายืดเหยียดของโต๊ะระดับต่ำ (Low table stretches) โดยยืดเหยียดท่าละ 10 วินาที ได้แก่ ท่า High Knees , Table chest opener, Table half squats, Wrist stretch และ Table push up
3.2 ท่ายืดเหยียดของโต๊ะระดับสูง (Low table stretches) โดยยืดเหยียดท่าละ 10 วินาที ได้แก่ ท่า Table climbers, Shoulder table stretch, Table squats, Standing thigh stretch, Table chest opener
3.3 การยืดเหยียดเท้าระหว่างที่ใช้โต๊ะยืนประชุมหรือยืนทำงาน หากยืนทำงานเกิน 30 นาที หลังการใช้งานโต๊ะยืน จะมีท่ายืดเหยียดเท้าหากมีอาการเมื่อยล้าจากการยืน โดยแต่ละท่าทำข้างละ 5-10 วินาที ดังต่อไปนี้หมุนข้อเท้า (Curl your heel) งอนิ้วเท้าขึ้น-ลง (Curl your toes) หมุนเท้า (Roll your foot) ลงส้นเท้ากับพื้นช้า ๆ (Slowly drop the heel in to the floor) พลิกเท้าซ้าย-ขวา (Tense your toes & grip the floor) ยืดเหยียดเท้ากับเท้าโต๊ะ (Roll your foot around the table feet)
หากยืนประชุมหรือยืนทำงานเกิน 60 นาที ควรมีการพักเท้า นวดเท้ากับเท้าโต๊ะ การขยับเท้า หรือการเดินไปรอบ ๆ บริเวณ เพื่อการพักเท้าให้เกิดความผ่อนคลาย
ผู้พัฒนา
ศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum)
กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มวัยทำงาน
รายะละเอียดผลงาน
ผู้พัฒนา
วิสาหกิจชุมชนกลุ่มสมุนไพรเกษตรปลอดภัยตำบลศิลา (พัฒนาแบบเพิ่มเติมโดยบริษัท ครีเอทีฟ มูฟ จำกัด)
เป้าหมาย
รายละเอียดผลงาน
ผู้พัฒนา
วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี
(รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ระดับอาชีวศึกษา
การประกวดนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ครั้งที่ 3)
เป้าหมาย
รายละเอียดผลงาน
ผู้พัฒนา
เป้าหมาย
รายละเอียดผลงาน
ผู้พัฒนา
วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
จ.สุราษฎร์ธานี (รางวัลชนะเลิศ ระดับอาชีวศึกษา
การประกวดนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ครั้งที่ 1)
เป้าหมาย
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น